ภาคเหนือ II

        
Views: 7120
Votes: 1
Comments: 0
Posted: 16 Feb, 2010
by:
Updated: 16 Feb, 2010
by:

แกงฮังเล

                       เนื่องจากภาคเหนือเป็นดินแดนที่มีชาวไทยหลายเผ่าพันธุ์ จากประวัติศาสตร์ ประชาชนแถบภาคเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ วัฒนธรรมบางอย่างจึงมีความคล้ายคลึงกันทั้งด้านประเพณีอาหารการกิน แกงฮังเลนั้นบางตำรากล่าวว่าเป็นแกงที่ชาวพม่ารับประทานกับกล้วยไข่ ต่อมาแกงฮังเลได้แพร่เข้ามาทางภาคเหนือ แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าแกงฮังเลเป็นอาหารเด่นของไทยประจำภาคเหนือตำรับหนึ่ง

สรรพคุณทางยา

1. ขิง รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน

2. สับปะรด รสหวานเปรี้ยวเล็กน้อย ช่วยขับปัสสาวะ

3. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมัน กระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด

4. มะขามเปียก รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ ลดความร้อนในร่างกาย

5. พริก รสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร

6. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ

7. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด ประโยชน์ทางอาหาร จะเห็นว่าแกงฮังเลนี้จะเป็นอาหารที่ค่อนข้างมีไขมัน แต่ในขณะเดียวกันก็จะใช้สับปะรดช่วยลดความรู้สึกเลี่ยนมันของหมูสามชั้น และช่วยเพิ่มเส้นใยอาหาร อีกทั้งยังมีขิงช่วยเติมรสชาติ การรับประทานแกงฮังเลจะได้ทั้งพลังงานจากเนื้อหมู มันหมู ช่วยให้ความอบอุ่นเหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น นอกจากนั้นยังจะได้แคลเซียม ฟอสฟอรัส แบต้า-แคโรทีน วิตามินบีสอง จากขิงอีกด้วย

แกงโฮะ

                ในสมัยก่อนเวลาทำบุญบ้านหรืองานบุญต่างๆ มักจะเตรียมของที่ทำอาหารไว้จำนวนมาก ในสมัยก่อนการนำเอาแกงต่างๆ ที่เหลืออยู่ในหม้อ (หลังจากที่ตักรับประทานอิ่มแล้ว) รวมทั้งผักและเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหลือจากการเตรียมมาทำแกงโฮะ ซึ่ง “โฮะ” เป็นภาษาเหนือ หมายถึง เอามารวมกัน คนไทยในแต่ละภาคมีวิธีการรับประทานผักอย่างหลากหลายแล้วแต่จะดัดแปลงกรรมวิธีอย่างไร แกงโฮะก็เป็นอาหารที่ปรุงจากผักหลายชนิดคล้ายกับอาหารหลายๆ อย่างของคนไทยภาคอื่นๆ ถ้าหากนึกถึงแกงก็มักจะนึกภาพแกงที่มีน้ำแกง จะมากน้อยหรือขลุกขลิกก็แล้วแต่ ส่วนแกงโฮะจะเป็นแกงที่แห้งๆ คล้ายผัด ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของแกงโฮะ

สรรพคุณทางยา

1. มะเขือเปราะ รสขมเล็กน้อย กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ ช่วยบำรุงธาตุ

 2. มะเขือพวง รสขมเฝื่อนเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ

3. มะเขือยาว รสขื่น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้

 4. ถั่วฝักยาว รสมันหวาน มีคุณค่าทางอาหารสูง กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้บำรุงธาตุดิน

5. ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน (แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ)

6. หน่อไม้ รสขมหวานร้อน ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย

7. ผักชีฝรั่ง รสจืด กลิ่นหอม ขับลม ดับกลิ่นคาว

 8. ผักชี ช่วยละลายเสมหะ แก้หัด ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เจริญอาหาร

 9. หอมแดง รสเผ็ดร้อนแก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด

 10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย

 11. แตงกวา รสจืด เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ บำรุงผิวพรรณ

12. สะระแหน่ รสหอมร้อน ใบ/ยอดอ่อน ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

13. โหระพา รสเผ็ดปร่าหอม แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ

14. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียม มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด

15. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ และ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ ประโยชน์ทางอาหาร แกงโฮะเป็นอาหารของภาคเหนือ ที่ได้จากผักหลายอย่างมารวมกัน จะได้รับวิตามิน แร่ธาตุจากผักต่างๆ รวมทั้งโปรตีน และพลังงาน วุ้นเส้นจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ อีกทั้งยังได้คุณค่าอาหารโปรตีนเพราะผลิตจากถั่วเขียว

ไส้อั่ว

                ไส้อั่วเป็นอาหารที่รับประทานได้ทุกเวลา และดูจะเป็นอาหารที่มีรสชาติที่ปรับบทบาทได้ทุกสถานการณ์ เช่น ใช้เป็นอาหารกล่องเวลาเดินทางไกลก็ได้ ซึ่งชาวเหนือใช้เป็นกับข้าวรับประทานกับข้าวเหนียว หรือชาวภาคกลางจะรับประทานกับข้าวสวยก็ไม่แปลก นอกจากเป็นกับข้าวแล้วก็สามารถดัดแปลงเป็นกับแกล้ม หรืออาหารว่างรูปแบบต่างๆ เช่น ดัดแปลงรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับขิงอ่อนสด พริกขี้หนูหั่น หัวหอมแดง มะนาวแบบเมี่ยงคำ ก็จะได้รสชาติแปลไปอีกแบบหนึ่ง

สรรพคุณทางยา

 1. มะกรูด รสปร่าหอม ช่วยดับกลิ่นคาว ขับลมในลำไส้ ขับระดูแก้จุกเสียด

2. พริกแห้ง รสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย

3. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด

4. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไขเพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด

5. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ และช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ

6. ขิง รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลม จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน

Others in this Category
document ภาคเหนือ
document ภาคกลาง
document ภาคอีสาน
document ภาคใต้
document ภาคอีสาน 2
document ภาคกลาง II
document ภาคใต้ II
document กินอย่างไทย-กินเพื่อสุขภาพ
document อาหารไทย: คุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์เชิงสุขภาพ